วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน


แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ   สังคม และการเมือง  มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ  ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
            1.  การรวมตัวของสื่อ  เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น  การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ   การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล  เป็นต้น 
1.      สื่อขนาดเล็ก  สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น  กล้องถ่ายวีดิทัศน์  การผลิตแผ่นซีดี   ฯลฯ
            3.  ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2.      ระบบสื่อสารโทรคมนาคม    ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์(Video Teleconference)
3.      อินเทอร์เน็ต  และเวิร์ล ไวด์ เว็บ  อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
            6.  ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)  เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
             สรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆนั้นส่งผลต่อการศึกษาแน่นอน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามสังคมการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน   ดังนั้นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานการศึกษาจะต้องทันสมัยอยู่เสมอเพื่อพัฒนาบุคลากร(นักเรียน)ที่จะเป็นอนาคตของชาติที่ดีและรอบรู้ต่อไปในอนาคต

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
      1.
ให้ความสาคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสาคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
      2.
เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
เลือกใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทาให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนาคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย
       3.
เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการ เอาชนะข้อจากัดทางด้านร่างกายและข้อจากัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1. การเรียนการสอนในระบบ
การสอนในระบบ (formal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจนนักเรียน นักศึกษาต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ โดยครูจะนำเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
2. สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
การสอนนอกระบบ (informal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้ ผู้สร้างหลักสูตรจำเป็นต้องคัดเลือกเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการศึกษา สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครู หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบ จะกำหนดขึ้น
3. สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
การสอนตามอัธยาศัย (nonformal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้นจากพระราชบัญญัติการศึกษา ปี พ.ศ. 2542 ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา ซึ่งแน่นอนการนำเทคโนโลยีการศึกษาย่อมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ น่าจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะผูกติดกับพระราชบัญญัติการคึกษา และนับวันจะมีบทบาทยิ่งขึ้น ดังจะพบว่าพระราชบัญญัติการศึกษาให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยีการศึกษา
2. เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย.แม้ว่าการสอนโดยอาศัยการออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์จะเคยเป็นและยังคงเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการจัดการศึกษา แต่ก็มีแนวโน้มว่าเราจะนำระบบวงจรปิดเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ระบบวงจรปิด เช่น ไมโครเวฟ โทรทัศน์วงจรปิด และการใช้ดาวเทียมมีข้อได้เปรียบระบบวงจรเปิดที่สามารถถ่ายทอดเรียนเป็นจำนวนมากได้พร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังได้เปรียบตรงที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจะทำให้เราสามารถส่งสัญญาณไปได้ทุกจุดบนพื้นโลกและเมื่อไปถึงจุดใดจุดหนึ่งแล้วก็สามารถส่งต่อไปตามสายเคเบิลหรือใช้ระบบไมโครเวฟไปยังห้องเรียนสถานที่อื่นๆ ในโรงเรียนหรือที่บ้าน หรือห้อง ประชุมในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้การรับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมโดยตรงของทาง โรงเรียน วงการธุรกิจอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสภาพการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยเหตุที่เรามีเครื่องรับที่ดีและเหมาะสม จึงทำให้เราสามารถขจัดปัญหาเดิมที่ต้องส่งโดยใช้สายเคเบิล สัญญาณดาวเทียมสามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ซึ่งประกอบด้วยแผ่นไฟเบอร์ที่สามารถส่งสัญญาณของหลายรายการได้ในเวลาเดียวกัน
.....เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสั เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้โดยมีศูนย์คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ผลิตโปรแกรมทางการศึกษาซึ่งพร้อมที่จะให้บริการได้ตลอดเวลา หรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณัไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใน้ได้เมื่อต้องการ
.....ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เปิดโอกาสให้กับการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การประชุมทางไกล (Teleconferencing) หลังจากการทดลองใช้ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียทำให้เราทราบว่าเราสามารถนำเทคนิคการประชุมทางไกลมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีชีวิตชีวาโดยที่ครูไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากบ้านมาสอน ตัวอย่างเช่น ครูอาจบันทึกบทเรียนของเขาไว้ในวีดีโอเทปแล้วส่งสัญญาณภาพออกไปโดยใช้ระบบวงจรปิด หลังจากนั้นหรือขณะที่กำลังดูรายการโทรทัศน์อยู่นั้น ผู้สอนอาจพูดคุยกับผู้ดูโทรทัศน์ทางสายโทรศัพท์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการนี้โดยเฉพาะ
.....ความสนใจในระบบการประชุมทางไกลเกิดขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกในการเดินทางอันเป็นผลมาจากการขาดแคลนพลังงานในหลาย ๆ ประเทศ ตัวอย่าง การทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือศูนย์การสอนที่มีชื่อว่า The Center for Interactive Programs and Instructional Communication ของมหาวิทยาลัยวิสคอนชิน สหรัฐอเมริกา ศูนย์การสอนแห่งนี้ได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับการประชุมทางไกล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 แม้ว่าในหลายประเทศที่ไม่คาดฝันว่าจะมีปัญหาด้านการขาดแคลนพลังงานก็ตามต่างก็ได้ให้ความสนใจและจะนำเทคนิคการประชุมทางไกลหรือเทคนิคการสอนทางไกลอื่นๆ ที่คล้ายกันมาใช้ในเร็ววันนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารทางไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสอนทางไกล ดังจะเห็นได้จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาต่างๆ โดยใช้เทคนิคการสอนทางไกล
.....ในระยะยาวการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาใช้ในการสอนจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษา นักการศึกษาและประชาชนทั่วไปได้คลาดการณ์ว่าในช่วงหลังของศตวรรษนี้โรงเรียนขนาดใหญ่จะเข้ามาแทนที่โรงเรียนขนาดเล็ก จึงจะเพิ่มโอกาสให้แก่นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนการสอนอย่างแท้จริง และช่วยให้การใช้บุคลากรที่มีอยู่เป็นไปอย่างคุ้มค่ารวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถขจัดอุปสรรคดังกล่าวได้ ทั้งในด้านการบริหารและค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนกลุ่มเล็กในโรงเรียนขนาดเล็กหลาย ๆ แห่ง ฝ่ายที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจทางการศึกษา มีความเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาจเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้โรงเรียนต้องหันมาสนใจในการที่จะนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน

....3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของช่างไม้ที่ช่วยให้คนตาบอกหรือคนที่ตามองเห็นเพียงบางส่วนสามารถรู้ทางเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น อุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณเสียงที่มีลักษณะเสียงต่างๆ กัน สัญญาณแหล่านี้จะช่วยให้คนตาบอกรู้ทางเดินได้ สำนักงานการศึกษาพิเศษได้พัฒนาวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอย่างยิ่ง
.....เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการฟังได้รับประโยชน์จากการดูโทรทัศน์โดยสมบูรณ์ ได้มีการพัฒนาเทคนิคบางประการ ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ผู้ที่หูพิการเข้าใจคำบรรยายในรายการโทรทัศน์ ได้มีการพัฒนาเทคนิคชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "Closed Captioning" คือเป็นการเพิ่มหัวข้อหรือคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรเข้าไปในรายการโทรทัศน์ คำบรรยายจะถูกบันทึกลงในจานแม่เหล็กโดยสถาบันจัดทำคำบรรยายแห่งชาติ (The National Captioning Institute) จากแม่เหล็กที่ถูกบันทึกคำบรรยายแล้วจะถูกส่งไปยังสถานีต่างๆ ที่ขอใช้บริการนี้ สถานีจะแทรกคำบรรยายเหล่านี้เข้าไปในบรรทัดที่ 21 ของจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นบรรทัดที่ไม่รับสัญญาณภาพอย่างอื่นๆ คำบรรยายนี้จะถูกส่งออกอากาศพร้อม ๆ กับสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงปกติของสถานี เราจะเห็นคำบรรยายนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราติดเครื่องถอดรหัส (Decoder Unit) ที่เสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้เครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเครื่องถอดรหัสอยู่ในตัวเครื่องแล้วเท่านั้น The Public Broadcasting System ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเทคนิค Closed Captioning ได้แพร่ภาพโดยการรวมคำบรรยายดังกล่าวเข้าไปด้วยวันละหลายชั่วโมง สถานีเครือข่ายเป็นต้นว่า ABC, CBS และ NBC ต่างออกอากาศโดยใช้เทคนิคดังกล่าวในหลายรายการ นอกจากเน้นการศึกษาเพื่อคนพิการ หรือคนด้อยโอกาสแล้ว การให้การศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีจะเน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล ซึ่งหมายถึง การให้โอกาสคนที่มีเวลาไม่ตรงกับคนอื่น สะดวกเวลาไหนก็เรียนเวลานั้น ไม่ต้องเรียนตรงกับเวลาของผู้อื่น การให้การศึกษาแบบนี้ต้องรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การใช้ Internet ชุดการสอน หรือ CAI (Computer- Assisted Instruction) นอกจากนั้นการให้การศึกษาแก่มวลชนคือคนจำนวนมาก ๆ หากคนจำนวนมาก ๆ อาจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การใช้โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น